วงออร์เคสตรา (Orchestra)
ไม่ทราบห้องเรียน เปิดดู ครั้ง

Thailand Band







วงออร์เคสตรา (Orchestra)


วงออร์เคสตรา
หรือวงดุริยางค์มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อ


สนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของคนตรีในแต่ละยุคแต่ละสมัย
ดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เครสตร้าเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง
ๆ ได้เป็นอย่างดี





ประวัติของวงออร์เคสตรา


ออร์เคสตรา
เป็นภาษากรีกตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ (
Dancing place) ซึ่งหมายถึง
ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง
ออร์เคสตราเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย
เรียกว่า วงกาเมลันออร์เคสตรา (
The gamelan
orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The gagaku
orchestra) เป็นต้น สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึง วงซิมโฟนีออร์เคสตรา
ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้เครื่องลมทองเหลือง
และเครื่องตี


 


ความหมายของออร์เคสตราเปลี่ยนไปในสมัยกลาง
โดยหมายถึงตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่
18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี
ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ
พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต


 


ในขณะที่การใช้เครื่องดนตรีเล่นทำนองเดียวกับการร้องในยุคเมดิอีวัล
และรีเนซองส์ แต่ไม่มีการระบุแน่นอนถึงเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องคนตรีที่ใช้บรรเลงแต่ประการใด
ระยะต่อมาในศตวรรษที่
16 เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น
ความจำเป็นในการกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีเกิดขึ้น เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนกับเสียงร้องของนักร้อง
ในโอเปราเรื่อง ออร์เฟโอ (
Orfeo, 1607), มอนเทแวร์ดี (Monteverdi)เริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น
ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา (
String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน
โดยบางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในศตวรรษที่
17วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ
ค.ศ.
1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนของเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม


เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตรา


 


ราวกลางศตวรรษที่ 18 การเปลี่ยนแปลงของวงออร์เดสตรามีอย่างมากมาย
เครื่องสายทุกชนิดมีการจัดระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตราในปัจจุบัน
โดยมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนที่เครื่องดนตรีที่เคยใช้กันมาก เช่น
การนำฟลูทมาแทนที่ขลุ่ยรีดอร์เดอร์ การเพิ่มคลาริเนทเข้ามาในกลุ่มเครื่องดนตรีประเกทเครื่องลมไม้
เป็นต้น กล่าวได้ว่า วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ
ยุดคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่งคือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้
จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแซร์โต
โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น
กล่าวคือ การมีเครื่องดนตรีครบทุกประเภทได้แก่ เครื่องสาย เครื่องลมไม้
เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรี


 


มีครื่องคนตรีพื้นฐานครบถ้วน กล่าวคือ
ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส


ในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบด้วย ฟลูท
คลารีเนท โอโบ บาซูน


ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองประกบไปด้วย
ฮอร์น ทรัมเปท ทรอมโบน และทูบา


ในกลุ่มเครื่องตีจะมีกลองทิมพานี กลองใหญ่
และเครื่องทำจังหวะอื่นๆ


การดวงในรายละเอียดจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง
เช่น บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้น


 


ในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 เบโเฟน ได้ปรับปรุงเปลี่ยแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี
เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น
4 ตัว และเติมเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น
ฉาบ ไทแองเกิล เข้าไป


ในราวกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคโรแมนติก ได้มีการเพิ่มจำนวนเครื่องคนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตรา
เป็นวใหญ่ขึ้น เช่น เบร์ลิโอส (
Berlioz) เพิ่มครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ
4 เครื่อง


ประเภทเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน
เพิ่มเป็น
28 เครื่อง
ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ
10-12 เครื่องเท่านั้น
นักประพันธ์แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (
Brahms) เมนเดลซอน (Mandelssohn)และซูมานน์ (Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ทั้งสิ้น
เพื่อแสดงพลังของบทเพลงที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นร่วม
100คน ในยุคโรแมนติกความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic
poem) มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้มีส่วนทำให้เพิ่มขนาดของวงออร์เคสตราด้วย
เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่องโดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่าง
ๆ บรรบายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ นอกจากนี้บทเพลง


ประเภทโอเปรา บัลลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียง
ล้วนแต่ทำให้วงออร์เคสตราเพิ่มขนาดขึ้น


เพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมา


 


ความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตราในช่วงศดวรรษที่19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20เริ่มลดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ
และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องลมที่เคยใช้ถึง
4 เครื่อง
ลดลงเหลือ
3 เครื่อง และไวโอลิน จะใช้เพียง 24 เครื่อง เป็นต้น


 


 


แม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก
ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดของวงออร์เคสตรา หรือแนวการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตา
แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราขอผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด


 


ลักษณะการจัดวงออร์เคสตรา


วิวัฒนาการของวงออร์เคสตราเริ่มขึ้นในราว
ค.ศ.
1600 ช่วงระยะเวลา 400ปี ทำให้ลักษณะของวงออร์เคสตราแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยของดนตรี
ลักษณะของวงออร์เคสตราที่สำคัญและควรกล่าวถึงมีดังนี้


 


1.วงออร์เคสตราในยุคบาโรค วงออร์เคสดราในยุดนี้จัดได้ว่า
เป็นยุดแรกของวงออร์เคสตราไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนนัก มักประกอบไปด้วย


เครื่องสาย คือ ไวโอลินสองแนว
(ไวโอลิน
1 และไวโอลิน 2) วิโอลา เซลโล และดับเบิลเบสเล่นเป็นแนวเดินเบส


เครื่องลมไม้ คือ โฮโบ 3 เครื่องบาซูน 1 เครื่องบางครั้งมีฟลูท


เครื่องลมทองเหลือง คือ ทรัมเปท 3 เครื่องบางครั้งมีฮอร์น


เครื่องประกอบจังหวะ คือ ทิมพานี


นอกจากนี้อาจจะมีฮาร์พซิคอร์ด
เล่นเป็นแนวเดินเบส หรืออาจจะใช้ออร์แกนเมื่อเป็นบทเพลง


เกี่ยวกับวัด (พลงโบสถ์)
และอาจมีฮาร์พ หรือ ลูท อยู่ด้วย


 


2. วงออร์เคสตราในยุคคลาสสิกในยุดนี้วงออร์เดสตราเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น อาจจะแบ่งได้


ลักษณะ คือ วงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) ได้แก่ วงออร์เคส


เครื่องสายล้วน ๆ
และวงออร์เดสตราที่มีเครื่องดนตรีทั้ง
4กลุ่ม ครบถ้วน วงออร์เคสตราในยุคนี้อาจ


จะประกอบไปด้วย










ฟลูท 2 เครื่อง


โอโบ 2 เครื่อง


คลาริเนท 2 เครื่อง


บาซูน 2 เครื่อง


ฮอร์น 2 เครื่อง


ทรัมเปท 2 เครื่อง


กลองทิมพานี 2 ใบ


เครื่องสาย (จำนวนหนึ่ง)


 


จำนวนผู้เล่นเครื่องสายในแต่ละแนวมีไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าใครเป็นเจ้าของวงออร์เคสตราถ้าเป็นวงออร์เคสตราของนครใดนครหนึ่ง
จำนวนผู้เล่นจะมากกว่าวงออร์เคสตราของเจ้านายในวังหรือปราสาท
ในกลุ่มเครื่องสายจะมีแนวต่าง ๆ ดังนี้ ไวโอลิน
1ไวโอลิน 2 (มักจะมีผู้เล่นเท่ากัน โดย ไวโอลิน1 เล่นแนวทำนอง และไวโอลินสองเล่นแนวประสาน) วิโอลา เชลโล
และดับเบิลเบส ซึ่งจัดเข้าอยู่ในกลุ่มเครื่องสายของวงออร์เดสตราด้วย


ในบางครั้งผู้ประพันธ์เพลงบางคนจะเติม
ทรอมโบน และฮาร์พเข้าไปในวงออร์เคสตราด้วย รวมทั้งการใช้พวกเครื่องตีหลายชิ้นนอกเหนือไปจากกลองทิมพานี


 


3. วงออร์เคสตราในยุคโรแมนติก อาจจะกล่าวได้ว่า
พัฒนาการของวงออร์เคสตรามาถึงจุดที่เป็นมาตรฐานในสมัยโรแมนติก
เพราะเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่ให้สีสันแตกต่างกันจะได้รับการจัดเข้าไปในวงออร์เคสตราทั้งหมด
โดยมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นให้มากขึ้นด้วย
เพื่อคุณภาพเสียงและพลังอำนาจของวงออร์เคสตราที่แท้จริง
ต่อไปนี้เป็นการจัดวงออร์เคสตราของเบร์ลิโอส
ซึ่งจัดได้ว่าเป็นวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย










ฟรุท 4 เครื่อง


โอโบ 4 เครื่อง


คลาริเนท 4 เครื่อง


บาซูน 4 เครื่อง


ไวโอลิน1 14 เครื่อง


ไวโอลิน2 14 เครื่อง


ไวโอลา 8 เครื่อง


เชลโล 10 เครื่อง


ดับเบิลเบส 8 เครื่อง


ฮอร์น 4 เครื่อง


ทรัมเปท 4 เครื่อง


ทรอมโบน 4 เครื่อง


ทิมพานี 1 ชุด


กลองใหญ่ 1 ตัว


ฉาบ 1 คู่


ฮาร์พ 1 คู่


 


จะเห็นได้ว่าวงออร์เคสตราขนาดที่กล่าวมานี้ใช้ผู้เล่นทั้งหมดกว่า80 คน
นอกจากนี้การจัดวงออร์เคสตรา มักจะมีการเพิ่มเครื่องคนตรีบางชนิดและเครื่องดนตรีชนิดต่าง
ๆ เข้าไปอีกตามความต้องการของผู้ประพันธ์ เช่น
บทพลงของวงออเคสตราที่ใช้บรรเลงในโอเปราบางเรื่องของวากเนอร์ (
Wagner) เพิ่มทูบาในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ใช้ฮาร์พถึง 6 ตัว รวมทั้งมี Triangle และฉาบด้วย เป็นต้นจึงเห็นได้ว่าวงออร์เคสตราในยุนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับวงออร์เคสตราในยุคบาโรคซึ่งอาจจะมีผู้เล่นอย่างมากเพียง20-30 คน


 


4.วงออร์เคสตราในยุคปัจจุบันขนาดของวงออร์เดสตราในปัจจุบันมีความแตกต่างกันไปตามสภาพสังคมและศรษฐกิจ
ร่วมทั้งจุดมุ่งหมายในการบรรเลงเพลงด้วย โดยปกติอาจจะแบ่งวงอร์ศราได้ป็นสองลักษณะ
คือ วงออร์เคสตราขนาดเล็กมักจะมีผู้เล่นไม่เกิน
60คน และวงออร์เคสตราขนาดใหญ่จะมีผู้เส่นประมาณ 80-100 คน ซึ่งสองในสามของนักดนตรีจะเป็นกลุ่มเครื่องสาย 1 ใน 4 จะเป็นนักดนตรีกลุ่มเครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลือง
ส่วนเครื่องตีจะใช้นักดนตรีประมาณ 4 – 5 คน อัตราส่วนการจัดวงออร์เคสตราเช่นนี้ทำให้เสียงดนตรีที่ได้มีความสมดุลและเหมาะสม
ตัวอย่างของการจัดวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวงของเมืองระดับใหญ่ ๆ
มีลักษณะดังนี้


 


 












กลุ่มเครื่องสาย


ไวโอลิน1 18 เครื่อง


ไวโอลิน2 15 เครื่อง


วิโอลา 12 เครื่อง


เชลโล 12 เครื่อง


ดับเบิลเบส 12 เครื่อง


กลุ่มเครื่องลมไม้


ฟลูท3
เครื่อง


โอโบ 3 เครื่อง


คลาริเนท 3 เครื่อง


บาซูน 3 เครื่อง


ปิกโกโล 1 เครื่อง


อิงลิชฮอร์น 1 เครื่อง


เบสคลาริเนท 1 เครื่อง


ดับเบิลบาซูน 1 เครื่อง


กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง


ฮอร์น 4-6 เครื่อง


ทรัมเปท 4 เครื่อง


ทรอมโบน 3 เครื่อง


ทูบา 1 เครื่อง


กลุ่มเครื่องตี


กลองทิมพานี 1 ชุด (ผู้เล่น 1 คน)


กลองใหญ่, กลองเล็ก, ไซโลโฟน,สามเหลี่ยม, ฉาบ, แทมโบรีน,
ฯลฯ


(ใช้ผู้เล่น 2-4
คน)


 


นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีสำคัญบางชิ้นอยู่ในวงออร์เคสตราด้วย
ถ้าบทเพลงที่จะบรรเลงมีความจำเป็นต้องใช้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์พ
2 เครื่อง และเบียโน หรือออร์แกน 1 เครื่อง"


 


การจัดวงออร์เคสตราคำนึงถึงความกลมกลืน
ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่มโดยทั่วไปกลุ่มเครื่องสายจะอยู่ด้านหน้าสุด
ส่วนเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องตีจะอยู่ด้านหลังสุด บริเวณกลางของวงจะเป็นเครื่องลมไม้รายละเอียดในการจัดวงแตกต่างกันออกไป
ต่อไปนี้ คือตัวอย่างการจัดวงของบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา
และชิคาโกซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงออร์เคสตราขนาดใหญ่


 


4.1 วงบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา
เป็นวงขนาดใหญ่ประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ
100 คน เป็นวงดนตรีประจำเมืองบอสตัน
รัฐแมสสาชูเสทซ์ สหรัฐอเมริกา (สี่เหลี่ยมแทนที่วางโน้ตดนตรี วงกลมเล็ก ๆ
แต่ละวงแทนนักดนตรี)



4.2 วงชิคาโกซิมโฟนีออร์เคสตรา
เป็นวงออร์คสตราขนาดใหญ่ประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ
100 คน เป็นวงดนตรีออร์เคสตราประจำเมืองชิคาโก
รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาเหลี่ยมแทนที่วางโน้ตเพลง วงกลมแทนนักดนตรี)





ผู้เขียน ณรุทธ์ สุทธจิตต์







ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง กับ E-san drumline...
การดู 2 ครั้ง
กีฬาสี 52 : วงโยฯ และพาเหรดโรงเรียน...
การดู 1 ครั้ง
Suranaree Marching Band THE CHAMPION OF Show Contest World Division Corps Style Class 2009-(Part1) ...
การดู 2 ครั้ง
ประกวดดรัมไลน์ มหาไถ่ศึกษา เลย...
การดู 2 ครั้ง
Yamaha All Thailand Marching Band Competition 2003 Disc 3...
การดู 1 ครั้ง
TDC2008 พงศ์กร เรืองโรจน์...
การดู 2 ครั้ง
วงดุริยางค์มงฟอร์ต 2558...
การดู 3 ครั้ง
KLWMBC 2009 - CHONKANYANUKOON SCHOOL MARCHING BAND (Partt1)...
การดู 1 ครั้ง
【吹奏楽】宮崎アニメ・メドレー...
การดู 3 ครั้ง
โครงการประกวดวงโยธวาทิต...
การดู 2 ครั้ง
DCI FInals DrumLine Battle Champions E-Sarn...
การดู 2 ครั้ง
North Eastern Technological College Drum & Bugle Corps TWMC 2014 World Class Division Champion...
การดู 3 ครั้ง
มัธยมวัดสิงห์2551@Piratesรอบชิง...
การดู 1 ครั้ง
BUU Symphonic Band...
การดู 2 ครั้ง
2010 WarmUp Part1...
การดู 1 ครั้ง
3th Asian Symphonic Band Competition 2001 Part2...
การดู 4 ครั้ง
สวนลุม Warmup 2010...
การดู 2 ครั้ง
Oxygen Drumline by กัลยาณวัตร ดรัมลาย ขอนแก่น วงโย กัลยาณวัตร...
การดู 2 ครั้ง
Dustin Doelling 2006 Snare Solo...
การดู 2 ครั้ง
19.12.10-SL BAND ซ้อมก่อนลงสนาม...
การดู 2 ครั้ง
Siamyth 2008 workshop...
การดู 2 ครั้ง
MAX Percussion LAST Run...
การดู 2 ครั้ง
Soul After Six on Marching Band...
การดู 1 ครั้ง
Horwang Marching Band Show (Afica)...
การดู 3 ครั้ง
หอวังโชว์ มาโชว์ :: YAMAHA MARCHING BAND COMPETITION 2007...
การดู 3 ครั้ง
การแข่งขันวงโยธวาทิตโลก - โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ...
การดู 1 ครั้ง
Suranaree Marching Band 14 ม.ค. 2013...
การดู 1 ครั้ง
E-Sarn Drumline Intermission Show at Thailand Drumline Contest 2013...
การดู 2 ครั้ง
เมือง พัทยา (PATAYA CITY)...
การดู 0 ครั้ง
Aimachi Show : YAMAHA COMPETITION 2004...
การดู 2 ครั้ง
วงโยธวาทิตจากโรงเรียนสุรนารีวิทยาและโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี...
การดู 1 ครั้ง
Phatthalung School Marchingband...
การดู 1 ครั้ง
โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6...
การดู 0 ครั้ง
มาดูการ warm ท่าปาดเหงื่อกัน......
การดู 2 ครั้ง
บดินทร์เดชา Yamaha All Thailand Marching Band Competition 2004...
การดู 2 ครั้ง
Suranaree Marching Band, WMC 2013...
การดู 2 ครั้ง
บดินทร์เดชา สิงห์สิงหเสนี โชว์ก่อนไปประกวดเกาหลี (ปี2549)...
การดู 2 ครั้ง
คิดอย่างนี้ทีไร สบายใจทุกที...
การดู 4 ครั้ง
Benjama Band Show 4/12/2555...
การดู 1 ครั้ง
ChinaFish TDC 2009...
การดู 2 ครั้ง
Exotic Journey to the Beat Bangkok...
การดู 2 ครั้ง
มงฟอร์ต ประถม 2007 YAMAHA COMPETITION 12...
การดู 2 ครั้ง
วัดราชบพิธ (High Camera)...
การดู 2 ครั้ง
MSU Snare Line - march to ND Stadium 2009 ...
การดู 2 ครั้ง
Thailand International Marching Band Competition 2011 Day1 (Part1)...
การดู 2 ครั้ง
ก่อนที่ฉันจะลืม...
การดู 6 ครั้ง
วงโย ร.ร.พัทลุง...
การดู 2 ครั้ง
ราชวินิต บางเขน 2007...
การดู 2 ครั้ง
KLWMBC 2009-Chonkanyanukoon School Marching Band, Thailand...
การดู 1 ครั้ง
TWMC 2013 - The North Eastern Technology Hornline - Mahler Symphony No. 2 Finale...
การดู 2 ครั้ง

www.thailandband.com