วงออร์เคสตรา (Orchestra)


วงออร์เคสตรา (Orchestra)

วงออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อ

สนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของคนตรีในแต่ละยุคแต่ละสมัย ดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เครสตร้าเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี


ประวัติของวงออร์เคสตรา

ออร์เคสตรา เป็นภาษากรีกตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ (Dancing place) ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง ออร์เคสตราเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย เรียกว่า วงกาเมลันออร์เคสตรา (The gamelan orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The gagaku orchestra) เป็นต้น สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึง วงซิมโฟนีออร์เคสตรา ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี

 

ความหมายของออร์เคสตราเปลี่ยนไปในสมัยกลาง โดยหมายถึงตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงแสดงคอนเสิร์ต

 

ในขณะที่การใช้เครื่องดนตรีเล่นทำนองเดียวกับการร้องในยุคเมดิอีวัล และรีเนซองส์ แต่ไม่มีการระบุแน่นอนถึงเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องคนตรีที่ใช้บรรเลงแต่ประการใด ระยะต่อมาในศตวรรษที่ 16 เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น ความจำเป็นในการกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีเกิดขึ้น เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนกับเสียงร้องของนักร้อง ในโอเปราเรื่อง ออร์เฟโอ (Orfeo, 1607), มอนเทแวร์ดี (Monteverdi)เริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10-25 คน โดยบางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในศตวรรษที่ 17วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนของเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม

เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตรา

 

ราวกลางศตวรรษที่ 18 การเปลี่ยนแปลงของวงออร์เดสตรามีอย่างมากมาย เครื่องสายทุกชนิดมีการจัดระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตราในปัจจุบัน โดยมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนที่เครื่องดนตรีที่เคยใช้กันมาก เช่น การนำฟลูทมาแทนที่ขลุ่ยรีดอร์เดอร์ การเพิ่มคลาริเนทเข้ามาในกลุ่มเครื่องดนตรีประเกทเครื่องลมไม้ เป็นต้น กล่าวได้ว่า วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุดคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่งคือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐาน เพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแซร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น กล่าวคือ การมีเครื่องดนตรีครบทุกประเภทได้แก่ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรี

 

มีครื่องคนตรีพื้นฐานครบถ้วน กล่าวคือ ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส

ในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบด้วย ฟลูท คลารีเนท โอโบ บาซูน

ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองประกบไปด้วย ฮอร์น ทรัมเปท ทรอมโบน และทูบา

ในกลุ่มเครื่องตีจะมีกลองทิมพานี กลองใหญ่ และเครื่องทำจังหวะอื่นๆ

การดวงในรายละเอียดจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง เช่น บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้น

 

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 เบโเฟน ได้ปรับปรุงเปลี่ยแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น 4 ตัว และเติมเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น ฉาบ ไทแองเกิล เข้าไป

ในราวกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคโรแมนติก ได้มีการเพิ่มจำนวนเครื่องคนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตรา เป็นวใหญ่ขึ้น เช่น เบร์ลิโอส (Berlioz) เพิ่มครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ 4 เครื่อง

ประเภทเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน เพิ่มเป็น 28 เครื่อง ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ 10-12 เครื่องเท่านั้น นักประพันธ์แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (Brahms) เมนเดลซอน (Mandelssohn)และซูมานน์ (Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ทั้งสิ้น เพื่อแสดงพลังของบทเพลงที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นร่วม 100คน ในยุคโรแมนติกความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem) มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้มีส่วนทำให้เพิ่มขนาดของวงออร์เคสตราด้วย เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่องโดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ บรรบายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้ นอกจากนี้บทเพลง

ประเภทโอเปรา บัลลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียง ล้วนแต่ทำให้วงออร์เคสตราเพิ่มขนาดขึ้น

เพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมา

 

ความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตราในช่วงศดวรรษที่19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20เริ่มลดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องลมที่เคยใช้ถึง 4 เครื่อง ลดลงเหลือ 3 เครื่อง และไวโอลิน จะใช้เพียง 24 เครื่อง เป็นต้น

 

 

แม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดของวงออร์เคสตรา หรือแนวการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราขอผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด

 

ลักษณะการจัดวงออร์เคสตรา

วิวัฒนาการของวงออร์เคสตราเริ่มขึ้นในราว ค.ศ. 1600 ช่วงระยะเวลา 400ปี ทำให้ลักษณะของวงออร์เคสตราแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยของดนตรี ลักษณะของวงออร์เคสตราที่สำคัญและควรกล่าวถึงมีดังนี้

 

1.วงออร์เคสตราในยุคบาโรค วงออร์เคสดราในยุดนี้จัดได้ว่า เป็นยุดแรกของวงออร์เคสตราไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนนัก มักประกอบไปด้วย

เครื่องสาย คือ ไวโอลินสองแนว (ไวโอลิน 1 และไวโอลิน 2) วิโอลา เซลโล และดับเบิลเบสเล่นเป็นแนวเดินเบส

เครื่องลมไม้ คือ โฮโบ 3 เครื่องบาซูน 1 เครื่องบางครั้งมีฟลูท

เครื่องลมทองเหลือง คือ ทรัมเปท 3 เครื่องบางครั้งมีฮอร์น

เครื่องประกอบจังหวะ คือ ทิมพานี

นอกจากนี้อาจจะมีฮาร์พซิคอร์ด เล่นเป็นแนวเดินเบส หรืออาจจะใช้ออร์แกนเมื่อเป็นบทเพลง

เกี่ยวกับวัด (พลงโบสถ์) และอาจมีฮาร์พ หรือ ลูท อยู่ด้วย

 

2. วงออร์เคสตราในยุคคลาสสิกในยุดนี้วงออร์เดสตราเริ่มมีแบบแผนมากขึ้น อาจจะแบ่งได้

ลักษณะ คือ วงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) ได้แก่ วงออร์เคส

เครื่องสายล้วน ๆ และวงออร์เดสตราที่มีเครื่องดนตรีทั้ง 4กลุ่ม ครบถ้วน วงออร์เคสตราในยุคนี้อาจ

จะประกอบไปด้วย

ฟลูท 2 เครื่อง

โอโบ 2 เครื่อง

คลาริเนท 2 เครื่อง

บาซูน 2 เครื่อง

ฮอร์น 2 เครื่อง

ทรัมเปท 2 เครื่อง

กลองทิมพานี 2 ใบ

เครื่องสาย (จำนวนหนึ่ง)

 

จำนวนผู้เล่นเครื่องสายในแต่ละแนวมีไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าใครเป็นเจ้าของวงออร์เคสตราถ้าเป็นวงออร์เคสตราของนครใดนครหนึ่ง จำนวนผู้เล่นจะมากกว่าวงออร์เคสตราของเจ้านายในวังหรือปราสาท ในกลุ่มเครื่องสายจะมีแนวต่าง ๆ ดังนี้ ไวโอลิน 1ไวโอลิน 2 (มักจะมีผู้เล่นเท่ากัน โดย ไวโอลิน1 เล่นแนวทำนอง และไวโอลินสองเล่นแนวประสาน) วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ซึ่งจัดเข้าอยู่ในกลุ่มเครื่องสายของวงออร์เดสตราด้วย

ในบางครั้งผู้ประพันธ์เพลงบางคนจะเติม ทรอมโบน และฮาร์พเข้าไปในวงออร์เคสตราด้วย รวมทั้งการใช้พวกเครื่องตีหลายชิ้นนอกเหนือไปจากกลองทิมพานี

 

3. วงออร์เคสตราในยุคโรแมนติก อาจจะกล่าวได้ว่า พัฒนาการของวงออร์เคสตรามาถึงจุดที่เป็นมาตรฐานในสมัยโรแมนติก เพราะเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่ให้สีสันแตกต่างกันจะได้รับการจัดเข้าไปในวงออร์เคสตราทั้งหมด โดยมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นให้มากขึ้นด้วย เพื่อคุณภาพเสียงและพลังอำนาจของวงออร์เคสตราที่แท้จริง ต่อไปนี้เป็นการจัดวงออร์เคสตราของเบร์ลิโอส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย

ฟรุท 4 เครื่อง

โอโบ 4 เครื่อง

คลาริเนท 4 เครื่อง

บาซูน 4 เครื่อง

ไวโอลิน1 14 เครื่อง

ไวโอลิน2 14 เครื่อง

ไวโอลา 8 เครื่อง

เชลโล 10 เครื่อง

ดับเบิลเบส 8 เครื่อง

ฮอร์น 4 เครื่อง

ทรัมเปท 4 เครื่อง

ทรอมโบน 4 เครื่อง

ทิมพานี 1 ชุด

กลองใหญ่ 1 ตัว

ฉาบ 1 คู่

ฮาร์พ 1 คู่

 

จะเห็นได้ว่าวงออร์เคสตราขนาดที่กล่าวมานี้ใช้ผู้เล่นทั้งหมดกว่า80 คน นอกจากนี้การจัดวงออร์เคสตรา มักจะมีการเพิ่มเครื่องคนตรีบางชนิดและเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ เข้าไปอีกตามความต้องการของผู้ประพันธ์ เช่น บทพลงของวงออเคสตราที่ใช้บรรเลงในโอเปราบางเรื่องของวากเนอร์ (Wagner) เพิ่มทูบาในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ใช้ฮาร์พถึง 6 ตัว รวมทั้งมี Triangle และฉาบด้วย เป็นต้นจึงเห็นได้ว่าวงออร์เคสตราในยุนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับวงออร์เคสตราในยุคบาโรคซึ่งอาจจะมีผู้เล่นอย่างมากเพียง20-30 คน

 

4.วงออร์เคสตราในยุคปัจจุบันขนาดของวงออร์เดสตราในปัจจุบันมีความแตกต่างกันไปตามสภาพสังคมและศรษฐกิจ ร่วมทั้งจุดมุ่งหมายในการบรรเลงเพลงด้วย โดยปกติอาจจะแบ่งวงอร์ศราได้ป็นสองลักษณะ คือ วงออร์เคสตราขนาดเล็กมักจะมีผู้เล่นไม่เกิน 60คน และวงออร์เคสตราขนาดใหญ่จะมีผู้เส่นประมาณ 80-100 คน ซึ่งสองในสามของนักดนตรีจะเป็นกลุ่มเครื่องสาย 1 ใน 4 จะเป็นนักดนตรีกลุ่มเครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลือง ส่วนเครื่องตีจะใช้นักดนตรีประมาณ 4 – 5 คน อัตราส่วนการจัดวงออร์เคสตราเช่นนี้ทำให้เสียงดนตรีที่ได้มีความสมดุลและเหมาะสม ตัวอย่างของการจัดวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวงของเมืองระดับใหญ่ ๆ มีลักษณะดังนี้

 

 

กลุ่มเครื่องสาย

ไวโอลิน1 18 เครื่อง

ไวโอลิน2 15 เครื่อง

วิโอลา 12 เครื่อง

เชลโล 12 เครื่อง

ดับเบิลเบส 12 เครื่อง

กลุ่มเครื่องลมไม้

ฟลูท3 เครื่อง

โอโบ 3 เครื่อง

คลาริเนท 3 เครื่อง

บาซูน 3 เครื่อง

ปิกโกโล 1 เครื่อง

อิงลิชฮอร์น 1 เครื่อง

เบสคลาริเนท 1 เครื่อง

ดับเบิลบาซูน 1 เครื่อง

กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง

ฮอร์น 4-6 เครื่อง

ทรัมเปท 4 เครื่อง

ทรอมโบน 3 เครื่อง

ทูบา 1 เครื่อง

กลุ่มเครื่องตี

กลองทิมพานี 1 ชุด (ผู้เล่น 1 คน)

กลองใหญ่, กลองเล็ก, ไซโลโฟน,สามเหลี่ยม, ฉาบ, แทมโบรีน, ฯลฯ

(ใช้ผู้เล่น 2-4 คน)

 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีสำคัญบางชิ้นอยู่ในวงออร์เคสตราด้วย ถ้าบทเพลงที่จะบรรเลงมีความจำเป็นต้องใช้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์พ 2 เครื่อง และเบียโน หรือออร์แกน 1 เครื่อง"

 

การจัดวงออร์เคสตราคำนึงถึงความกลมกลืน ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่มโดยทั่วไปกลุ่มเครื่องสายจะอยู่ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องตีจะอยู่ด้านหลังสุด บริเวณกลางของวงจะเป็นเครื่องลมไม้รายละเอียดในการจัดวงแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้ คือตัวอย่างการจัดวงของบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา และชิคาโกซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงออร์เคสตราขนาดใหญ่

 

4.1 วงบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา เป็นวงขนาดใหญ่ประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ 100 คน เป็นวงดนตรีประจำเมืองบอสตัน รัฐแมสสาชูเสทซ์ สหรัฐอเมริกา (สี่เหลี่ยมแทนที่วางโน้ตดนตรี วงกลมเล็ก ๆ แต่ละวงแทนนักดนตรี)

4.2 วงชิคาโกซิมโฟนีออร์เคสตรา เป็นวงออร์คสตราขนาดใหญ่ประกอบด้วยนักดนตรีประมาณ 100 คน เป็นวงดนตรีออร์เคสตราประจำเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาเหลี่ยมแทนที่วางโน้ตเพลง วงกลมแทนนักดนตรี)


ผู้เขียน ณรุทธ์ สุทธจิตต์




www.thailandband.com | TSB Education




ท่าเรือ+ภาชี Show2011

www.thailandband.com

www.thailandband.com | TSB Edu...

ราคา 1.25 บาท

Mongfort Marching Show 2010

www.thailandband.com

www.thailandband.com | TSB Edu...

ราคา 1.5 บาท

บางปะหัน 2007 YAMAHA Part#2 (HD)

www.thailandband.com

YAMAHA ALL THAILAND MARCHING B...

ราคา 1.01 บาท

วงเมืองพัทยา ชลบุรี (Show)

www.thailandband.com

www.thailandband.com | TSB Edu...

ราคา 1.01 บาท



แสดงความคิดเห็น




เป็นเพื่อนกับ Thailand band

Attawit Commercial Technology College
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 2 ครั้ง
วรรัตน์ศึกษา Final + Comment
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 1 ครั้ง
บรรยากาศการประกวด Marching Band ที่พัทยา ชลบุรี Part2
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 3 ครั้ง
Benjama Band Concert ครั้งที่ 1
วีดีโอ Benjama Band Concert ครั้งที่ 1 คืองานแสดงบรรเลงคอนเส
เปิดดู 10 ครั้ง
คิดอย่างนี้ทีไร สบายใจทุกที
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 3 ครั้ง
Kolej Sultan Abdul Hamid College Marching Band
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 2 ครั้ง
Bodin 2 Machu Pichu city in the sky
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 2 ครั้ง
Darasamutr symphonic band (DS BAND)
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 1 ครั้ง
มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guard March) | สตรีมารดาพิทักษ์ จันทบุรี | #วงโยธวาทิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ
เปิดดู 4 ครั้ง
Thailand Horn Club
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 1 ครั้ง
Pacific Scene
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 4 ครั้ง
อยากจะคุย EP1 | World Association Of Marching Show Bands
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 7 ครั้ง
ครั้งแรกบนสนามศุภชลาศัย กทม. ปี 2538
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 5 ครั้ง
สุดยอดวิดีโอ 2011 (Tape 1)
www.thailandband.com | TSB Education
เปิดดู 4 ครั้ง
YAMAHA ALL THAILAND MARCHING BAND COMPETITION 2003
สวนกุหลาบนนทบุรี พ.ศ. 2546
เปิดดู 2 ครั้ง

Powered By Spirit Team | TSB Music Education